ค่าไฟฟ้าของภาคอุตสาหกรรมในไทยเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจนถึงแตะจุดสูงสุดที่ 4.67 บาท/หน่วยไฟฟ้าในปี 2566 ตามราคาก๊าซธรรมชาติที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงหลักในการผลิตไฟฟ้า เนื่องจากไทยต้องนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) จากต่างประเทศที่มีต้นทุนสูงมากในช่วงดังกล่าว เพื่อทดแทนการขาดหายไปของก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทย หลังแหล่งเอราวัณ (G1/61) ไม่สามารถผลิตก๊าซธรรมชาติตามสัญญาที่กำหนดไว้ที่ 800 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ส่งผลให้ราคาก๊าซธรรมชาติพุ่งสูงขึ้น และส่งผลกระทบต่อเนื่องถึงค่าไฟฟ้าด้วย เพื่อบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายด้านพลังงานของภาคธุรกิจและภาคครัวเรือน กระทรวงพลังงานได้ทำการเปลี่ยนวิธีการจัดสรรก๊าซธรรมชาติตั้งแต่ 1 ม.ค. 2567 เพื่อลดราคาก๊าซธรรมชาติและค่าไฟฟ้าในระยะยาว โดยก่อนที่จะมีการเปลี่ยนแปลงวิธีการจัดสรรก๊าซธรรมชาติในช่วง ม.ค. 2567 ก๊าซธรรมชาติที่ผลิตได้ในประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่มาจากอ่าวไทย และมีราคาต่ำสุดเมื่อเทียบกับการจัดหาจากแหล่งอื่น ๆ จะถูกจัดจำหน่ายให้กับอุตสาหกรรมปิโตรเคมีและผู้ผลิต LPG
แนวทางการ จัดสรรก๊าซธรรมชาติ ในรูปแบบใหม่คาดว่าจะทำให้สัดส่วนปริมาณก๊าซธรรมชาติจากอ่าวไทยใน Pool Gas ซึ่งมีต้นทุนต่ำสุด เพิ่มขึ้นจาก 44% และ 47% ในปี 2567-68 เป็น 51% และ 53% ในปี 2567-68 ซึ่งจะส่งผลให้ราคาก๊าซธรรมชาติแบบ Pool ลดลงราว 13.8 บาท/MMBTU และ 9.3 บาท/MMBTU ในปี 2567-68 ตามลำดับ
Krungthai COMPASS คาดว่าราคาก๊าซธรรมชาติแบบ Pool มีแนวโน้มที่จะลดลงจาก 381 บาท/MMBTU (ราคาสำหรับกิจการผลิตไฟฟ้า : 366 บาท/MMBTU) ในปี 2566 เป็น 296 บาท/MMBTU และ 277 บาท /MMBTU ในปี 2567-68 เพราะนอกเหนือจากการจัดสรรก๊าซธรรมชาติในรูปแบบใหม่จะทำให้ราคาก๊าซธรรมชาติแบบ Pool จะลดลงแล้ว ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ได้แก่ 1) ปตท.สผ.กำลังทยอยเพิ่มกำลังการผลิตก๊าซธรรมชาติในแหล่งเอราวัณ (G1/61) ให้เป็นไปตามสัญญาภายใน เม.ย. 2567 ซึ่งทำให้สัดส่วนปริมาณก๊าซธรรมชาติจากอ่าวไทยใน Pool Gas เพิ่มขึ้น จึงจะส่งผลให้ราคาก๊าซธรรมชาติแบบ Pool ลดลง
2) ต้นทุนการนำเข้า LNG จากต่างประเทศ มีแนวโน้มลดลงในช่วงปี 2567-68 ตามราคา LNG ในตลาดเอเชีย (JKM LNG)
บริษัทรับเหมาติดตั้งโซล่าเซลล์
ขั้นตอนการติดตั้งโซล่าเซลล์
รับติดตั้งโซล่าเซลล์