เคล็ดลับ รักษาข้อเข่าเสื่อม นั้นเป็นเรื่องที่มีความสำคัญอย่างมาก เนื่องจากข้อเข่าเสื่อมสามารถส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตและความสามารถในการทำกิจกรรมประจำวันของบุคคลได้โดยตรง ดังนั้น การรักษาข้อเข่าเสื่อมมีหลายแง่มุมและวิธีการที่สามารถนำมาใช้ได้ เช่น
- การออกกำลังกาย: การฝึกอบรมและเพิ่มความแข็งแกร่งให้กับกล้ามเนื้อที่รอบข้อเข่าสามารถช่วยลดอาการปวดและเสริมสร้างความยืดหยุ่นให้กับข้อเข่า
- การควบคุมน้ำหนัก: การลดน้ำหนักหรือควบคุมน้ำหนักอย่างเหมาะสมจะช่วยลดแรงกดที่ข้อเข่า และลดการก่อตัวของโรคเสื่อมข้อเข่า
- การกายภาพบำบัด: การรับการบำบัดจากผู้เชี่ยวชาญอาจช่วยเพิ่มความแข็งแกร่งและความยืดหยุ่นให้กับข้อเข่า
- การใช้เทคโนโลยีการแพทย์: เช่นการศัลยกรรมข้อเข่าหรือการฉีดสารเสริมในข้อเข่า เพื่อช่วยบรรเทาอาการและเพิ่มความสะดวกในการเคลื่อนไหว
- การดูแลระยะยาว: การรักษาและดูแลรักษาสุขภาพข้อเข่าในระยะยาวจะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิด
เเนะ 4 เคล็ดลับการ รักษาข้อเข่าเสื่อม
วิธี รักษาข้อเข่าเสื่อมที่เหมาะสม
เมื่อแพทย์ประเมินระดับความรุนแรงของโรคข้อเข่าเสื่อมแล้ว จะแนะนำวิธีการรักษาที่เหมาะสมที่สุดสำหรับระดับความรุนแรงของโรคของผู้ป่วยเอง โดยจะพิจารณาการรักษาแตกต่างกันเป็นรายบุคคลไป เนื่องจากผู้ป่วยแต่ละรายมีข้อบ่งชี้และข้อจำกัดที่ไม่เหมือนกัน
- การรักษาข้อเข่าเสื่อมโดยปรับพฤติกรรมและการออกกำลังกาย
เพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อต้นขาและกล้ามเนื้อรอบข้อเข่า เพราะกล้ามเนื้อที่แข็งแรงจะช่วยพยุงข้อเข่า และถ่ายเทน้ำหนักจากข้อเข่ามาที่กล้ามเนื้อได้ดี ทำให้ข้อเข่าไม่ต้องรับน้ำหนักมากจนเกินไป แนะนำให้ผู้สูงวัยออกกำลังกายประเภทที่มีแรงกระแทกต่อข้อเข่าน้อย (Low-Impact Exercise) เช่น ว่ายน้ำ การปั่นจักรยานอยู่กับที่ การเต้นแอโรบิกที่ไม่มีท่ากระโดด การเต้นแอโรบิกในน้ำ หรือการเดิน เป็นต้น
แต่หากท่านยังอายุไม่มากนัก หรือออกกำลังกายเป็นประจำ ก็อาจจะเลือกเป็นการวิ่งจ๊อกกิ้ง การเดินเร็ว การเต้นแอโรบิกได้ หรือการออกกำลังแบบบอดี้เวทเทรนนิ่ง (Body Weight Training) คลิกดูตัวอย่างท่าออกกำลังกายเพื่อป้องกันอาการปวดเข่าได้ ที่นี่
- การรักษาข้อเข่าเสื่อม ด้วยการใช้ยา
วิธีนี้แพทย์จะพิจารณาให้ยาแก้ปวด ยาต้านการอักเสบ และ/หรือยาบำรุงข้อเข่าแก่ผู้ป่วย เช่น ยาพาราเซตามอล (Paracetamol) กลูโคซามีน(Glucosamine) ไดอะเซอรีน (Diacerein) ยากลุ่มต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) เป็นต้น เพื่อลดอาการปวดข้อเข่าที่รบกวนชีวิตประจำวันของผู้ป่วย อาจจะเป็นแบบเม็ด หรือแบบฉีดก็ได้ ทั้งนี้ อาจรวมไปถึงการฉีดคอร์ติโคสเตียรอยด์ในบางกรณีที่จำเป็น - การทำกายภาพบำบัด
เพื่อบรรเทาอาการปวดบริเวณข้อเข่า เช่น การทำอัลตราซาวด์ การใช้เลเซอร์รักษา การรักษาด้วยคลื่นสั้น (Shortwave Therapy) การรักษาด้วยเครื่องกระตุ้นไฟฟ้า (Electrical Stimulation) การประคบด้วยแผ่นร้อนและแผ่นเย็น รวมถึงการฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายของผู้ป่วยทั้งก่อนและหลังการผ่าตัด ซึ่งอาจรวมไปถึงการเสริมสร้างความแข็งแรงและเพิ่มความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อรอบข้อเข่าด้วยเช่นกัน - การ รักษาข้อเข่าเสื่อม ทางชีวภาพ หรือ Biological Therapy
ซึ่งเป็นเทคนิคทางการแพทย์ที่ใช้ในการรักษาอาการผิดปกติของกระดูกอ่อนและน้ำเลี้ยงข้อเข่า โดยสามารถทำได้โดยวิธีดังต่อไปนี้
4.1) การฉีดน้ำเลี้ยงข้อเข่าเทียม (Hyaluronic acid)
ซึ่งทำหน้าที่คล้ายกับเป็นสารหล่อชนิดหนึ่งเข้าไป เพื่อบรรเทาอาการปวดและลดอาการฝืดตึงของข้อเข่า โดยมุ่งเน้นรักษาผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อม ด้วยการเพิ่มน้ำหล่อลื่นและกระตุ้นสารตั้งต้นผิวข้อเข่า เหมาะกับผู้ป่วยที่มีอาการของโรคข้อเข่าเสื่อม และรักษาด้วยยาแล้วไม่หาย แต่ก็ยังไม่ได้อยู่ในระยะรุนแรงถึงขั้นต้องทำการผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียม ในด้านผลการรักษา จะเห็นผลจากประสิทธิภาพจริงที่ประมาณ 4-6 สัปดาห์ หรืออาจจะนานได้ถึง 6 เดือน ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรคเป็นรายๆ ไป แต่หากมีภาวะข้อเข่าเสื่อมมากๆ แล้วนั้น การรักษาอาจไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร
นอกจากการใช้กับผู้ป่วยที่ยังไม่ได้รับการผ่าตัดแล้ว ยังสามารถใช้ร่วมกับการผ่าตัดผิวข้อเข่าเทียมได้ด้วย เพื่อช่วยปรับสมดุลน้ำในข้อเข่าหลังการผ่าตัดและช่วยฟื้นฟูผู้ป่วยให้สามารถกลับมาใช้ข้อเข่าที่บาดเจ็บได้เร็วขึ้น ทั้งนี้ เนื่องจากการรักษาด้วยวิธีนี้มีข้อบ่งชี้และข้อห้ามในการใช้อยู่ จึงควรปรึกษาแพทย์เฉพาะทางด้านกระดูกและข้อก่อนจะดีที่สุด
4.2) การฉีด Platelet Rich Plasma (PRP)
หรือสารสกัดเกล็ดเลือด จากเลือดของผู้ป่วยเองที่มีความเข้มข้นของ growth factor หรือสารที่ช่วยเร่งกระบวนการซ่อมแซมเนื้อเยื่อโดยธรรมชาติ ช่วยให้บริเวณที่มีการบาดเจ็บดีขึ้น เป็นวิธีที่ได้ผลดี ปลอดภัย มีประสิทธิภาพสูง และมีผลข้างเคียงต่ำ เนื่องจากเป็นสารสกัดจากเลือดของผู้ป่วยเอง เหมาะกับผู้ที่มีอาการข้อเข่าเสื่อม หรือมีการบาดเจ็บของเส้นเอ็นและกล้ามเนื้อบริเวณข้อเข่า
สามารถเห็นผลของการรักษาได้ตั้งแต่ 4-6 สัปดาห์ขึ้นไป ทั้งนี้ เนื่องจากการรักษาด้วยวิธีนี้มีข้อบ่งชี้และข้อจำกัดอยู่ จึงควรปรึกษาแพทย์เฉพาะทางด้านกระดูกและข้อก่อนรับการรักษา
ขอบคุณข้อมูลจาก