เรื่องบัญชี คิดถึง P2MB
ธุรกิจทุกประเภทเมื่อเริ่มมีรายได้เข้ามาอย่างต่อเนื่อง สิ่งที่ไม่ควรมองข้ามคือเรื่องการทำบัญชีแม้ว่าธุรกิจของคุณยังไม่ได้จดบริษัทและทำงานเพียงคนเดียวก็ตาม แต่การทำบัญชี ที่เราสามารถจ้าง สำนักงานบัญชี จะช่วยทำให้เจ้าของกิจการเห็นรายรับ รายจ่าย ต้นทุน กำไร ขาดทุน เพื่อไว้วิเคราะห์ทิศทางการดำเนินกิจการในอนาคตได้ และเป็นข้อมูลสำหรับยื่นภาษีได้ด้วย
โดย การทำบัญชี จะเริ่มบังคับให้ต้องมีการจัดทำแบบจริงจัง หลังจากที่กิจการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล ซึ่งกฎหมายบังคับให้นิติบุคคลต้องมีการจัดทำบัญชี และส่งข้อมูลงบการเงินให้กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า และส่งภาษีให้กับกรมสรรพากร จึงต้องการความละเอียดมากกว่ารูปแบบธุรกิจเจ้าของคนเดียวในนามบุคคลธรรมดา และนอกจากทำบัญชีรายการต่างๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างปีแล้ว ยังต้องมีการปิดงบการเงิน ตรวจสอบบัญชี และออกรายงานลงชื่อรับรองโดยผู้สอบบัญชีได้รับอนุญาตด้วย
ดังนั้น หากกิจการจัดตั้งบริษัทจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล สามารถทำบัญชีเองได้ ในกรณีที่ผู้ทำบัญชีของกิจการมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนด แต่ยังมีความจำเป็นต้องใช้บริการตรวจสอบบัญชีจากผู้สอบบัญชีที่เป็นอิสระจากกิจการเพื่อรับรองความถูกต้องของบัญชีที่จัดทำเป็นประจำทุกปี ซึ่งผู้ประกอบการอาจเลือกใช้บริการสำนักงานบัญชีที่รับจ้างทำบัญชี เข้ามาดูแลบัญชีและการยื่นภาษีของกิจการโดยตรง รวมถึงตรวจสอบบัญชีด้วยในคราวเดียวกัน
ผู้ทำบัญชีต้องมีคุณสมบัติตามกฎหมายกำหนดอะไรบ้าง
นิติบุคคลที่มีพนักงานบัญชีดูแลการทำบัญชีของกิจการ นักบัญชีจะต้องมีคุณสมบัติเป็นไปตามเกณฑ์ที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้ากำหนด ดังนี้
1.ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน บริษัทจำกัด ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ที่มีทุนจดทะเบียนไม่เกิน 5 ล้านบาท มีสินทรัพย์รวมและรายได้รวมไม่เกิน 30 ล้านบาท ต้องมีวุฒิการศึกษาขั้นต่ำระดับ ปวส.ทางการบัญชี ปริญญาตรีทางการบัญชีขึ้นไป
2.ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน บริษัทจำกัด ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ที่มีทุนจดทะเบียนเกิน 5 ล้านบาท หรือมีสินทรัพย์รวม หรือรายได้รวมเกิน 30 ล้านบาท ต้องมีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรีทางการบัญชีขึ้นไป
3.บริษัทมหาชน ที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ต้องมีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรีทางการบัญชีขึ้นไป
4.นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศประกอบธุรกิจในไทย ต้องมีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรีทางการบัญชีขึ้นไป
5.กิจการร่วมค้า ต้องมีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรีทางการบัญชีขึ้นไป
ด้วยเหตุนี้ หากนิติบุคคลต้องการทำบัญชีเอง ต้องมีคุณสมบัติตรงตามเกณฑ์ที่กำหนด หากคุณสมบัติไม่ตรง อาจถูกปรับสูงสุดถึง 50,000 บาท หรือถ้าไม่ทำบัญชีจะถูกปรับ 3,000 บาท และบวกเพิ่มอีกวันละ 1,000 บาท เมื่อยื่นงบการเงินและภาษีแต่ไม่แจ้งชื่อผู้ทำบัญชีจะถูกปรับ 10,000 บาท ไม่ส่งงบการเงินถูกปรับ 50,000 บาท
ทำบัญชีเองหรือควรจ้างทำบัญชี แบบไหนดีกว่ากัน
ตามหลักการแล้ว ในเรื่องของการทำบัญชีสำหรับกิจการที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล กรณีที่เจ้าของกิจการหรือหุ้นส่วนจบด้านการบัญชีมา และมีคุณสมบัติตรงตามเกณฑ์ที่กำหนด ก็สามารถทำบัญชีเองได้ แล้วติดต่อผู้ตรวจสอบบัญชีเพื่อตรวจสอบ ออกรายงานผู้สอบบัญชี เพื่อยื่นงบการเงินและภาษีประจำปี จะช่วยประหยัดต้นทุนในการจ้างทำบัญชี
ส่วนเจ้าของธุรกิจที่ไม่มีผู้ทำบัญชีอยู่ในบริษัท หากเป็นบริษัทขนาดใหญ่ มีรายรับรายจ่ายจำนวนมาก อาจจะจ้างผู้ทำบัญชีเป็นพนักงานประจำ หรือถ้าบริษัทมีขนาดเล็กยังมีค่าใช้จ่ายไม่มาก ผู้บริหารอาจทำบัญชีรายรับรายจ่ายเบื้องต้น รวมถึงนำส่งภาษีที่เกี่ยวข้องรายเดือนเอง
แต่อย่างไรก็ตาม สำหรับงบการเงินสิ้นปีที่นำส่ง จำเป็นต้องมีผู้ทำบัญชีที่มีคุณสมบัติดังที่กล่าวไปแล้ว ลงชื่อเป็นผู้ทำบัญชีให้แก่กิจการ ดังนั้น อาจเลือกจ้างสำนักงานบัญชี outsource เพื่อตรวจสอบรายการบัญชีที่เกิดขึ้น พร้อมยื่นส่งงบการเงินและภาษีให้ได้ แต่สำหรับบริษัทขนาดเล็ก ไม่แนะนำให้จ้างผู้ทำบัญชีแบบเป็นพนักงานประจำ เนื่องจากค่าจ้างมักจะสูงกว่าจ้างสำนักงานบัญชี outsource หลายเท่าตัว
อะไรบ้างที่สำนักงานบัญชีจัดการให้กิจการ
และในกรณีที่กิจการเลือกใช้บริการสำนักงานบัญชี ทางสำนักงานบัญชีมีหน้าที่ช่วยแบ่งเบาภาระเรื่องการทำบัญชีและภาษีให้กับกิจการ โดยมีหน้าที่หลักๆ ดังนี้
1.ปิดบัญชีทั่วไป เมื่อมีการว่าจ้าง สำนักงานบัญชีให้ทำบัญชีรายเดือน ทางสำนักงานทำบัญชีจะรวบรวมเอกสารแต่ละเดือนลงบันทึกบัญชีรายรับ รายจ่ายรายการทั้งหมดที่เกิดขึ้น
2.ยื่นแบบประจำเดือน สำนักงานบัญชีจะเป็นคนจัดทำ และยื่นแบบรายเดือนแทนกิจการ เช่น ยื่นภาษีหัก ณ ที่จ่ายเงินเดือนของพนักงาน ยอดภาษีหัก ณ ที่จ่ายที่หักไว้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ยื่นรายการเงินสมทบประกันสังคม และรายการอื่นๆ ที่จำเป็นต้องยื่นแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
3.ยื่นแบบประจำปี จัดทำพร้อมยื่นภาษีกลางปี ปลายปี ของกิจการแก่กรมสรรพากร รวมถึงส่งงบการเงินให้กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์
– ยื่นภาษีกลางปี โดยยื่นแบบ ภ.ง.ด.51 ภายใน 2 เดือนนับจากวันสุดท้ายของครึ่งปีแรกของกิจการ เช่นรอบบัญชีของกิจการ คือ 1 มกราคม – 31 ธันวาคม ของทุกปี กิจการต้องนำส่ง ภ.ง.ด.51 ภายในวันที่ 31 สิงหาคม ในปีนั้น สำหรับข้อมูลบัญชีครึ่งปีแรก (1 มกราคม – 30 มิถุนายน)
– ยื่นภาษีสิ้นปี โดยยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 พร้อมกับงบการเงินและรายงานผู้สอบบัญชี ภายใน 5 เดือนนับจากสิ้นรอบบัญชีสำหรับห้างหุ้นส่วน หรือ ภายใน 1 เดือนนับจากประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปีสำหรับบริษัท (ต้องประชุมภายใน 4 เดือนนับจากสิ้นรอบบัญชี)
สุดท้าย… 5 ปัจจัย ควรจ้างสำนักงานบัญชี
นอกจากขอบข่ายการทำบัญชีที่กิจการจะได้รับจากการจ้างสำนักงานบัญชีแล้ว กิจการควรพิจารณาเลือกสำนักงานบัญชีที่มีลักษณะปัจจัยต่างๆ ดังนี้ด้วย
1.มีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนด
2.สำนักงานบัญชีมีตัวตนจริง มีหลักแหล่งชัดเจน
3.ขอบเขตบริการบัญชีที่ตกลงให้บริการ
4.สามารถให้คำปรึกษาเรื่องของบัญชีภาษี แก่กิจการได้
5.ราคาค่าบริการสำหรับการทำบัญชีมีความสมเหตุสมผล
ทั้งนี้ กิจการอาจช่างน้ำหนักระหว่างการเลือกที่จะจัดทำบัญชีเอง จ้างพนักงานประจำ หรือเลือกบริการจาก สำนักงานบัญชี โดยพิจารณาตัวเลือกที่เหมาะสมที่สุดกับธุรกิจของกิจการ แต่อย่างไรก็ตามการมีที่ปรึกษามืออาชีพช่วยดูแลทางด้านบัญชี และภาษีให้ ย่อมสะดวกและถูกต้องแม่นยำมากกว่าอย่างแน่นอน